Social Icons

วันจันทร์

วิธีเลี้ยงเป็ดและสูตรอาหารทำเองลดต้นทุน


การเตรียมโรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ด ทำความสะอาดโรงเรือน ปรับพื้นคอก โรยปูนขาวและพ่นยาฆ่าเชื้อโรคทิ้งเอาไว้ประมาณ 7 วัน ควรเป็นโรงเรือนที่กันลมและกันฝน อากาศถ่ายเทได้ดี พื้นเป็นดินแข็งปนทราย ต้องแห้งอยู่เสมอ  โรงเรือนต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เป็นลานกว้าง มีหลังคา กันแดด กันลม กันฝน ให้เป็ดวิ่งออกกำลังกายได้ จัดที่ให้อาหารและน้ำ อีกส่วนควรอยู่ริมน้ำ มีตาข่ายล้อมรอบกั้นเป็นเขต เพื่อให้เป็ดได้ว่ายน้ำ ออกกำลังกาย
การให้อาหาร คือ หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำข้าว คลุกเคล้าโดยเครื่องผสมอาหาร ให้อาหารวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น  ถ้าเป็ดได้รับการเลี้ยงดูอย่างสมบูรณ์ จะเริ่มออกไข่เมื่ออายุประมาณ 5 เดือน เป็ดจะออกไข่ตอนเช้ามืด ตามแอ่ง มุมต่าง ๆ ของคอก

วิธีการเก็บไข่ คือ ใช้มือเก็บไข่โดยหนีบไข่ไว้ข้างละ 3 ฟอง จะทำให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ควรเก็บใส่กระป๋องครั้งละมาก ๆ แล้วนำไปคัดขนาด แยกไข่กินกับไข่เพาะเชื้อออกจากกัน

สูตรอาหารเป็ดเร่งไข่ดก
1.เตรียมอาหาร รำอ่อน 1 ส่วน ผสมหัวอาหารไก่ 1 ส่วน และใบตำลึง 1 กำมือ นำมาทุบแช่น้ำ 5 ลิตร ผสมให้เป็ดกิน 1 เดือนแรก เพื่อป้องกันอาการเป็ดชัก
2.เมื่อเป็ดอายุครบ 2 เดือน ให้อาหารเป็นรำผสมข้าวปลาย อัตราส่วน 1:1 หลังจากนั้นให้ใช้สูตรอาหารบำรุงไข่ เพื่อให้เป็ดออกไข่มาก คือ
สูตรอาหารบำรุงเป็ดออกไข่มาก
วัสดุ/อุปกรณ์
1.ท่อนกล้วยสับละเอียด 50 กิโลกรัม
2.กากน้ำตาล ½ กิโลกรัม
3.เกลือ 2-3 ขีด
นำมาหมักผสมกันไว้ 2 คืน สามารถนำมาเป็นอาหารได้
การนำไปใช้
ให้นำสูตรอาหารบำรุงเป็ดออกไข่มาก 1 กก. ผสมหัวอาหาร 5 กิโลกรัม รำ 5 กิโลกรัม และน้ำหมักผลไม้สุก 3 ช้อนแกง นำทั้งหมดผสมหมักไว้ 1 คืน แล้วนำไปให้เป็ดกินตามปริมาณที่ให้อาหารเป็ดในแต่ละวัน จะช่วยบำรุงเป็ดให้ออกไข่มาก และลดต้นทุนด้วย

พันธุ์ปลาที่เลี้ยงร่วมกับการเลี้ยงเป็ด
พันธุ์ปลาที่เหมาะสมเลี้ยงร่วมกับการเลี้ยงเป็ดนั้นควรเป็นพันธุ์ที่กินอาหารไม่เลือกหรือกินแพลงก์ตอน เช่น ปลานิล ปลานวลจันทร์เทศ และปลาช่อน โดยใช้ปลานิลเป็นหลัก ส่วนลูกปลาควรมีขนาด 5-7 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่โตพอจะหลบหนีจากการถูกกินเป็นอาหารของเป็ดได้ อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ จำนวนปลานิลขนาด 5 เซนติเมตร 3,000 ตัวต่อไร่ ถ้าเป็นปลาขนาด 3 เซนติเมตร ควรเพิ่มจำนวนขึ้นได้อีกหนึ่งเท่าตัวต่อเป็ดไข่ที่เลี้ยง 240 ตัว

การดูแลรักษา
คอกเป็ดประเภทที่สร้างคร่อมในบ่อปลา มูลที่ถ่ายออกมาจะหล่นลงบ่อปลาโดยตรง ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดทุกวัน แต่ถ้าเป็นคอกที่สร้างบนโคกหรือบริเวณขอบบ่อปลาจะต้องทำความสะอาดทุกวัน เพื่อรวบรวมมูลเป็ดใส่ลงไปในบ่อเพื่อเป็นอาหารปลาและเป็นปุ๋ยของอาหารธรรมชาติในบ่อปลา
ส่วนคุณสมบัติของน้ำในบ่อก็จะต้องตรวจและป้องกันมิให้เกิดภาวะน้ำเสีย โดยควบคุมระดับในบ่อให้มีความลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร และบริเวณที่ตื้นประมาณ 50 ซม. นอกจากนี้เป็ดที่เลี้ยงควรที่จะได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ตามที่สัตวแพทย์ได้กำหนดในช่วงระยะการเลี้ยงด้วย
การเลี้ยงเป็ดร่วมกับปลาสวายนั้น ควรปล่อยเป็ดลงในบ่อหลังจากเลี้ยงปลาสวายประมาณ 2 เดือน ปลาจะมีขนาดโตพอดีที่เป็ดไม่สามารถกินเป็นอาหารได้การปล่อยเป็ดลงในบ่อปลาช่วยกินพวกพืชเล็ก ๆ ที่เกิดตามธรรมชาติ เช่น สาหร่าย จอก แหน ตลอดจนสัตว์เล็ก ๆ
เช่น หอย ปู ปลาเล็ก ๆ ในส่วนที่ปลาได้รับประโยชน์จากเป็ดก็คือ ปลาสามารถกินของเสียจากเป็ดเป็นอาหารได้ และมูลเป็ดที่ปลากินไม่หมดจะเป็นปุ๋ยให้กับพวกจอก แหน หรือวัชพืช เมื่อพืชเหล่านั้นโตขึ้นมาก็จะเป็นอาหารให้แก่ปลาและเป็ดต่อไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
 
Blogger Templates