Social Icons

วันจันทร์

วิธีเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดีและสูตรอาหารลดต้นทุน



ข้อแตกต่างของการเลี้ยงไก่ไข่ที่อยู่ในกรงและไก่ไข่อินทรีย์แบบปล่อย
ไก่ไข่ที่เลี้ยงในกรง จะมีอายุการให้ไข่ไม่เกิน 1 ปีครึ่ง
ไก่ไข่อินทรีย์ เลี้ยงแบบปล่อย จะมีอายุการให้ไข่ 2 ปีขึ้นไป
การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย ไก่ไข่อารมณ์ดี
เลี้ยงแบบปล่อย ไก่ได้แสดงพฤติกรรมธรรมชาติ ไม่เครียด ไก่ได้คุ้ยเขี่ย ไซร้ปีก คลุกฝุ่น ไข่ในรัง นอนคอน อยู่กันแบบรวมกลุ่มไก่ได้จิกกินอาหารธรรมชาติ หญ้า สมุนไพร หนอนและแมลง ไก่ได้รับวิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ
ข้อดีของการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย ไก่ไข่อารมณ์ดี
ไก่มีความสุข อารมณ์ดี ทำให้แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค
ไก่ได้รับอาหารธรรมชาติ ให้ไข่เป็นไปตามธรรมชาติ มีคุณค่าทางอาหารสูง
เหมาะสำหรับการเลี้ยงกับเกษตรกรรายย่อย ใช้อาหารสัตว์ที่มีในท้องถิ่น
ผลิตไข่และบริโภคในชุมชน สนับสนุนอาชีพให้กับเกษตรกรรายย่อย
ไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงแบบปล่อย ไก่ไข่อารมณ์ดี
ไข่ขาวข้นเห็นได้ชัดเจน
ไข่แดงนูนเด่น รสชาติดี
ไม่เสี่ยงต่อสารเคมียาสัตว์ตกค้าง
มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่า
แม่ไก่อารมณ์ดี ได้รับการดูแลด้วยความรัก เพราะถูกเลี้ยงปล่อยแบบอิสระตามธรรมชาติอยู่ในฟาร์มเล็กๆ ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกเย็นสบาย ร่มรื่น ไม่ต้องอุดอู้อยู่ในกรงตลอดเวลา แม่ไก่จึงไม่เครียดและให้ไข่ที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ
อาหารหลักของแม่ไก่เป็นอาหารชั้นดี
 คือ ข้าวโพดปลอดสารพิษที่ปลูกขึ้นเฉพาะ กากถั่วเหลือง รำข้าว ปลาป่น และทำน้ำสมุนไพรชีวภาพให้แม่ไก่กิน ทำให้แม่ไก่แข็งแรง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ไข่แดงจะออกเป็นสีเหลืองธรรมชาติ เพราะไม่ได้ใช้สารเร่งเพื่อทำให้มีสีแดงสดอย่างฟาร์มอื่นทั่วไปใช้กันไข่ขาวจะไม่มีความแน่น ไม่คาวจัด จึงสัมผัสถึงความอร่อยของไข่จากแม่ไก่อารมณ์ดี ได้อย่างสนิทใจ
นำน้ำหมักชีวภาพเป็นโปรไบโอติค (สิ่งส่งเสริมชีวิต) ซึ่งตรงกันข้ามกับสารที่ฟาร์มไก่ทั่วไปใช้คือ แอนติไบโอติค (สิ่งทำลายชีวิต) หรือยาปฏิชีวนะผลที่ตามมาอย่างน่าพอใจคือ ทำให้ไก่สดชื่นมีภูมิคุ้มกันโรค เป็นการถอนยาปฏิชีวนะของจากไก่ได้
ไก่ปล่อยมีความเป็นอิสระ ได้รับการดูแลด้วยความรัก ไม่ใช่ถูกขังอยู่ในคอนโดไก่ที่มีหน้าที่เพียงออกไข่และรอวันตาย แต่แม่ไก่สุขภาพดี จึงทำให้ไข่ไก่คุณภาพดีด้วย….ผลผลิตที่ฟาร์มภูมิใจเสนอต่อผู้บริโภคที่เข้าถึงความสำคัญของสุขภาพและสิ่งแวดล้อมกว่าจะเป็นไก่ไข่อารมณ์ดี

อาหารไก่ไข่ลดต้นทุน ที่ขอแนะนำ เป็นสูตรอาหารของคุณบุญล้อม เต้าแก้ว นอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ยังช่วยให้ไก่ไข่แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค ลดกลิ่นเหม็นของมูลไก่ ไข่ไก่สีสวย ไข่แดงสดใส
วัตถุดิบ
- หยวกกล้วยหั่นละเอียด 20 กิโลกรัม
- กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
- เกลือเม็ด 1/2 กิโลกรัม
ขั้นตอน
- ใส่ส่วนประกอบทั้ง 3 ลงไปในถังหมัก แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- ปิดฝาถังหมัก เก็บไว้ที่ร่มประมาณ 7 วัน
อัตราส่วน
- ใช้ผสมกับหัวอาหาร โดยมีอัตราส่วนดังนี้ สูตรอาหารไก่ไข่ลดต้นทุน 1 กก. ต่อ หัวอาหารไก่ไข่ 10 กก. ต่อไก่ 30 ตัว ต่อวัน (นำไปให้ไก่ไข่กินวันละ 2 เวลา เช้าและเย็น)
หรือใช้สูตรอาหารหมัก โดยใช้ส่วนประกอบดังนี้
-    หยวกกล้วยหั่นและทุบให้นิ่ม 30 กก.
-    ข้าวลีบ 10 กก.
-    รำละเอียด 10 กก.
-    ปลายข้าว 1.5 กก.
-    น้ำตาลทรายแดง 1 กก.
-    เกลือ 200 กรัม
-    ขี้วัวแห้งบดละเอียด 4 กก.
-    ดินแดงร่วน 2 กก.
วิธีทำ
-    เติมส่วนประกอบทั้งหมดลงไปในถังหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากัน
-    เตรียมน้ำสะอาด 20 ลิตร แล้วเติมน้ำหมักจุลินทรีย์ 40 ซีซี และกากน้ำตาล 40 ซีซี
-    ค่อยๆเทน้ำลงไปในถังหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากันจนจับกันเป็นก้อน
-    ปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในที่ร่ม ทิ้งไว้ 7 วัน หลังจากนั้นสามารถนำไปให้ไก่ไข่กินได้ เช้า และเย็น ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนค่าอาหารมากกว่าอาหารสำเร็จรูป 3 เท่า



เทคนิคการใช้ผักตบชวาให้ไก่ไข่กินเป็นอาหารเสริม 
วิธีการ 
- นำผักตบชวาที่เก็บได้ในท้องถิ่น มาทำการโยนให้ไก่ไข่กินในช่วงเช้า วันละ 1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 10 กิโลกรัม หลังจากไก่ไข่กินใบผักตบชวาหมด ให้ทำการหว่านข้าวเปลือกตามไปให้ไก่กินอีกวันละ 6 กิโลกรัม แค่นี้ไก่ไข่ที่เลี้ยงไว้ก็จะมีสุขภาพดี ท้องเย็น ไม่ป่วยง่ายและยังให้ผลผลิตไข่ดีอีกด้วย 

หมายเหตุ : เศษผักตบชวาที่เหลือ จะผสมกับมูลไก่ กลายเป็นปุ๋ยอย่างดี สามารถนำไปใส่พืชที่ปลูกไว้ได้เป็นอย่างดี
การขยายพันธุ์ไก่ไข่
ในระหว่างการเลี้ยงแบบอินทรีย์นี้ อัตราส่วนที่เหมาะสม ปล่อยไก่ตัวผู้ 1 ตัว ต่อไก่ไข่ตัวเมีย 5 ตัว ทั้งนี้เพื่อการเพาะพันธุ์ลูกไก่ไข่ โดยไม่ต้องเสียเงินไปซื้อไก่ไข่สาวมาเลี้ยง ที่ราคาค่อนข้างแพง การขยายพันธุ์เองนี้ นอกจากจะประหยัดค่าไก่ไข่แล้วยัง สามารถให้เรารู้ถึงรุ่นไก่ไข่ในแต่ละรุ่น


สมุนไพรไก่ไข่ ป้องกันและรักษาโรค
ฟ้าทะลาย สมุนไพร ที่เหมาะสำหรับป้องกันและรักษาโรคต่างๆของไก่ไข่ โดยส่วนใหญ่แล้วโรคที่เกิดขึ้นกับไก่ จะมีอยู่ 2 ช่วงคือ
ปลายฝนต้นหนาว
•    สับฟ้าทะลายโจรให้ละเอียด แล้วตากให้แห้ง นำไปบด สามารถผสมกับอาหารไก่ให้กิน
•    หรือสามารถนำฟ้าทะลายโจรสดๆ ให้ไก่กินได้เลย
ช่วงใกล้เข้าฤดูร้อน
•    ช่วงนี้โรคไข้หวัดนกมักระบาด ให้นำฟ้าทะลายโจร ลูกใต้ใบ ต้นโทงเทง และหนุมานประสานกาย อย่างล่ะ 1 กก. สับพอประมาณ เทใส่ถังหมัก
•    ใช้น้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล 1 กก. น้ำเปล่า 5 ลิตร เทลงไปในถังหมักด้วย หมักไว้ 10-15 วัน
•    สามารถนำมาผสมกับน้ำให้ไก่กินได้, หรือถ้าไก่ไข่ป่วยหรือซึม หน้าซีด ไม่ต้องผสม ให้กินได้เลย
สูตรอาหารป้ องกันและรักษาโรคไก่
ส่วนผสมและวิธีทํา
1. ฟ้ าทะลายโจร 1 กก.
2. นํ ้าตาลทรายแดง 1 กก.
3. โทงเทง 1 กก.
4. นํ ้าเปล่า
- หมักกับนํ ้าตาลทรายอัตรา 1:1:1 หมักไว้ประมาณ 1 เดือน
นําส่วนผสมทั ้ง 3 อย่างผสมให้เข้ากันแล้วเติมนํ ้าให้พอท่วม ใส่ภาชนะที่มีฝาปิ ด แล้วหมักทิ ้งไว้
ประมาณ 1 เดือน ก็สามารถนํามาใช้ผสมกับอาหารให้ไก่กินได้จะทําให้ไก่มีสุขภาพดี ลดอัตราการเกิดโรค

แผนการเลี้ยงไก่ไข่แบบประหยัด พอเพียง แนวอินทรีย์
หากเราจะเลี้ยงไก่ไข่แบบอินทรีย์อย่างจริงจัง ให้ได้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแล้วล่ะก็ ควรจะมีการวางแผนที่ดีตั้งแต่เริ่มต้นเลี้ยงหรือก่อนเลี้ยงไก่ไข่ โดยเริ่มต้นเลี้ยงที่จำนวนน้อยๆสัก 10-20 ตัว แล้วค่อยเพิ่มจำนวน เราจะได้ใกล้ชิด และสังเกตุพฤกติกรรมของไก่ไข่ รวมถึงอาหารการกิน และโรคที่เกิดขึ้นกับไก่ไข่ ในระหว่างการฝึกหัดเลี้ยงนั้น ควรจัดสถานที่เพาะปลูกพืชผัก ผลไม้ไว้เอง (เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ค่อนข้างกว้าง โดยไก่ไข่ 1 ตัว / ตารางเมตร)

 เช่น กล้วย ข้าว ผักสวนครัวจำพวกกวางตุ้ง ผักบุ้ง คะน้า ข่า ตะไคร้ พริก มะละกอ ตำลึง กระถิน สำหรับเป็นอาหารหลัก อาหารเสริมของไก่ไข่ ส่วนฟ้าทะลายโจร ลูกใต้ใบ ต้นโทงเทง หนุมานประสานกาย เป็นสมุนไพรสำหรับไก่ไข่ ให้ไก่ทนทานต่อโรคและรักษาโรคต่างๆ จัดสัดส่วนของพื้นที่ให้เหมาะสม และที่ผู้เขียนอยากจะแนะนำเพิ่มคือ การปลูกกล้วยน้ำว้า และหน่อไม้ เพื่อจัดเป็นแหล่งคุ้ยเขี่ยหากินแมลงและปลวกของไก่ไข่ ตามธรรมชาติ การเลี้ยงแบบนี้จะช่วยให้ไก่ไข่อารมณ์ดี สุขภาพแข็งแรง อายุยืน และจะช่วยให้เรามีรายได่ต่อที่สอง คือสามารถนำกล้วย และหน่อไม้ไปขายได้อีกทางหนึ่ง
หมายเหตุ
เราสามารถหาซื้อไก่ไข่ที่ปลดระวางจากฟาร์มที่เลี้ยงแบบกรงตับแล้ว มาเลี้ยงปล่อยแบบอินทรีย์ได้ ในราคาถูก ไม่เกิน 80 บาท แต่แนะนำให้แยกเลี้ยงจากฝูงเดิมที่เรามี เพื่อให้ไก่ได้คุ้นเคยกับสถานที่และป้องกันโรคติดต่อจากฟาร์ม รอให้ไก่ไข่ปรับตัวได้ปรกติ จึงค่อยนำมารวมกับฝูง อาจใช้ระยะเวลา 1-2 สัปดาห์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
 
Blogger Templates